Search

ทางเลือก-ทางรอด ฝ่าวิกฤต 'หนี้' - ประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ สามัญสำนึก
สุดใจ ชาญชาตรีรัตน์

“วิกฤตหนี้” ถือเป็นโจทย์ใหญ่และเร่งด่วนของประเทศเวลานี้ เพราะผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้มีภาคธุรกิจและรายย่อยเข้าสู่มาตรการ “พักหนี้” ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สูงถึง 7.2 ล้านล้านบาท (ลูกหนี้ 12.5 ล้านบัญชี) หรือราว 1 ใน 3 ของสินเชื่อทั้งระบบ

ดูไส้ในก็พบว่าเป็นรายย่อย 11.31 ล้านบัญชี และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 1.17 ล้านบัญชี

ทั้งหมดนี้ได้สิทธิ “แช่แข็งหนี้” ทำให้ไม่กลายเป็นหนี้เสีย

ปัญหาคือ ไม่รู้ว่า “ลูกหนี้” เหล่านี้เมื่อถึงเวลาออกจากช่องฟรีซจะสามารถชำระหนี้ได้ตามปกติเท่าไหร่ และจำนวนเท่าไหร่ที่จะตก “หน้าผาเอ็นพีแอล”

เพราะผลจากโรคระบาดใหญ่ครั้งนี้ ทำให้ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบถ้วนหน้า กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หยุดชะงักทั่วโลกไม่สามารถเดินทางได  ทำให้กำลังซื้อทั่วโลกหดหาย

ปัญหาคือ “รายได้” ของภาคธุรกิจและประชาชนลดลง แต่ภาระ “หนี้” ยังคงอยู่และเพิ่มขึ้น

แม้ว่าสถาบันการเงินจะมีมาตรการ “พักหนี้” ช่วยต่อลมหายใจ “ลูกหนี้” แต่ตัวเลขดอกเบี้ยยังเดินหรือเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เอสเอ็มอีกว่า 1.17 ล้านรายที่อยู่ในโครงการพักหนี้ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงในสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่ยังไม่สิ้นสุด จะสามารถดำเนินธุรกิจและหารายได้มาชำระคืนหนี้ได้หรือไม่

นั่นหมายถึงพนักงานหรือแรงงานอีกหลายล้านคนที่เผชิญความเสี่ยงตกงานเพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าตอนนี้สถาบันการเงินคงเตรียมพร้อมรับมือเต็มที่ และการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ให้กลายเป็นเอ็นพีแอลน่าจะเป็นโจทย์ใหญ่ในเวลานี้ มากกว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นคือแบงก์ “ตั้งการ์ดสูง” ในการสกัด “เอ็นพีแอล”

ดังนั้น การปรับโครงสร้างหนี้ของแบงก์ส่วนใหญ่คือการ “ยืดหนี้” แต่ความอยู่รอดของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี คือ “สภาพคล่อง” ที่ต้องเติมเข้ามาเพื่อให้กิจการเดินต่อไปได้ ถ้าแบงก์ยังไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจก็อาจเดินต่อไปไม่ได้

สะท้อนจากตัวเลขปล่อยกู้ซอฟต์โลน (เงินกู้ ดบ.ต่ำ) 5 แสนล้านบาท จนถึงวันนี้ธนาคารยังปล่อยไปได้แค่ 115,520 ล้านบาท  ลูกหนี้ 69,086 รายเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่แบงก์มั่นใจว่าจะไม่เป็นหนี้เสีย แต่ลูกหนี้ที่ยื่นขอซอฟต์โลนมีมากกว่านี้แน่นอน

การแก้วิกฤตครั้งนี้จึงเป็นการเดิมพันระหว่าง “ความเสี่ยง” ของแบงก์กับ “ความอยู่รอด” ของผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องมีข้อมูลและเครื่องมือเข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ถือเป็นฐานรากของประเทศเดินต่อไปได้

เพราะการปรับโครงสร้างหนี้มี “ต้นทุนความเสียหาย” ที่ต้องจ่าย

ดังนั้น ถ้า ธปท.ยังไม่ปรับเงื่อนไข ขณะที่แบงก์ยังกังวล “หนี้เสีย” ซอฟต์โลน 5 แสนล้านก็จะเป็นแค่ “ตัวเลข” ที่ไม่ได้มีการส่งผ่านไปช่วยผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

ด้วยปัญหาที่มีขนาดใหญ่ รัฐบาลและ ธปท.จำเป็นต้องมีมาตรการแก้วิกฤตหนี้แบบเบ็ดเสร็จออกมา เพราะเดือนตุลาคมนี้จะสิ้นสุดมาตรการพักหนี้ แต่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย โอกาสที่ธุรกิจจะสามารถชำระหนี้เพิ่มขึ้นคงเป็นไปได้น้อย

25 กันยายน 2563 “ประชาชาติธุรกิจ” เปิดเวทีสัมมนา “ทางเลือก ทางรอด ฝ่าวิกฤตหนี้” ที่โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก (เพลินจิต) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” เป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ และ “ดนุชา พิชยนันท์” รองเลขาธิการสภาพัฒน์ บรรยายในหัวข้อ “ปิดเพดานหนี้ฐานราก ปรับโครงสร้างหนี้ประเทศ”

พร้อมเสวนาพิเศษ “รวมพลังปรับโครงสร้างหนี้” 5 ผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ฉัตรชัย ศิริไล, ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร, สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์, ศิริเดช เอื้องอุดมสิน และ นิยต มาศะวิสุทธิ์  

เวทีแรกของการชำแหละวิกฤตหนี้และมุมมองทางออกมาหาคำตอบร่วมกันกับ “ทางเลือก ทางรอด ฝ่าวิกฤตหนี้”

Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( ทางเลือก-ทางรอด ฝ่าวิกฤต 'หนี้' - ประชาชาติธุรกิจ )
https://ift.tt/3iMxQG7
ธุรกิจ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ทางเลือก-ทางรอด ฝ่าวิกฤต 'หนี้' - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.